หลักการ และแนวคิดของไทย

หลักการ และแนวคิดของไทย
พระธรรมปิฎก (๒๕๓๙) ได้นำ เสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาและการสอนตามหลักพุทธธรรม ซึ่งครอบคลุมในเรื่องการพัฒนาปัญญา และการคิดไว้จำนวนมากและได้มีนักการศึกษาไทยนำ แนวคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบ กระบวนการ และเทคนิคในการสอน ทำ ให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้มากขึ้นหลักการ และแนวคิด ตามหลักพุทธธรรมที่นำ มาใช้ในการจัดการศึกษา และการสอนที่พระธรรมปิฎกได้เผยแผ่ที่สำ คัญ ๆ มีดังนี้
แนวคิดพื้นฐาน
๑. ความสุขของมนุษย์เกิดจากการรู้จักดำ เนินชีวิตให้ถูกต้องทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น
๒. การรู้จักการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องคือ การรู้จักคิดเป็น เป็น พูดเป็น และทำเป็น
๓. การคิดเป็นหรือการคิดอย่างถูกต้องเป็นศูนย์กลางที่บริหารการดำ เนินชีวิตทั้งหมด ทำ หน้าที่ชี้นำ และควบคุมการกระทำ การคิดจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีอยู่มาก หากคิดเป็นหรือคิดดีก็จะเกิดการเลือกรับเป็นหรือเลือกรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เมื่อรับมาแล้วก็จะเกิดการคิด ตีความเชื่อมโยงและตอบสนองออกมาเป็นการกระทำ ในขั้นตอนนี้จะมีสิ่งปรุงแต่งความคิดเข้ามา ได้แก่ อารมณ์ชอบ ชัง คติและอคติต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อการคิดตีความเชื่อมโยงและการกระทำ ถ้าคิดเป็นคิดโดยรู้ถึงสิ่งปรุงแต่งต่าง ๆ นั้นก็จะสามารถบริหารการกระทำ อย่างเหมาะสมได้
๔. กระบวนการคิดเป็น เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ฝึกฝนได้โดยกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษาหรือสิกขา การพัฒนานั้นเรียกว่า การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ผลที่ได้คือมรรคหรือการกระทำ ที่ดีงาม
๕. แก่นแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาปัญญาของตนเองให้เกิดมีสัมมาทิฏฐิคือการมีความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ค่านิยมที่ถูกต้อง ดีงาม เกื้อกูลแก่ชีวิต และครอบครัว
๖. สัมมาทิฏฐิ ทำ ให้เกิดการพูดและการกระทำ ที่ถูกต้องดีงาม สามารถดับทุกข์และแก้ปัญหาได้
๗. ปัจจัยที่ทำ ให้เกิดสัมมาทิฎฐิ ได้มี ๒ ประการคือ
๗.๑ ปัจจัยภายนอก หรือเรียกว่า ปรโตโฆสะ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ครูพ่อแม่ เพื่อน สื่อมวลชน ฯลฯ
๗.๒ ปัจจัยภายใน หรือเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การคิดเป็น
๘. การศึกษาทั้งหลายที่จัดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำ กันอย่างเป็นงานเป็นการเป็นระบบ ระเบียบ ถือว่าเป็นปรโตโฆสะทั้งสิ้น
๙. บุคคลส่วนใหญ่ในโลกจะสามารถพัฒนาตนเองให้ใช้โยนิโสมนสิการอย่างเดียวไม่ได้ จำ เป็นต้องอาศัยปรโตโฆสะก่อนในเบื้องต้น
๑๐. โยนิโสมนสิการเรียกได้ว่า คือการคิดเป็น เป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมองรู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะโดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นจากต้นเหตุตลอดทางจนถึงผลสุดท้ายที่เกิด แยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง คิดตามความสัมพันธ์ที่สืบทอดจากเหตุโดยไม่เอาความรู้สึกอุปทานของตนเองเข้าไปจับหรือเคลือบคลุม บุคคลนั้นจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการแห่งปัญญา
๑๑. โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายในมีความเกี่ยวข้องกับการฝึกใช้ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ คิดอย่างวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นตอนสำ คัญของการสร้างปัญญา ทำ ใจให้บริสุทธิ์ และเป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ นำ ไปสู่ความเป็นอิสระไร้ทุกข์ พร้อมด้วยสันติสุขเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
๑๒. โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ตัวปัญญา แต่เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา มีเป้าหมายสูงสุดคือการดับทุกข์
๑๓. โยนิโสมนสิการ มีองค์ประกอบ 4 ส่วนคือ
๑๓.๑ อุบายมนสิการ คือการคิดอย่างเข้าถึงความจริง
๑๓.๒ ปถมนสิการ คือการคิดอย่างมีลำ ดับขั้นตอนไม่สับสน
๑๓.๓ การณมนสิการ คือการคิดอย่างมีเหตุผล
๑๓.๔ อุปปาทกมนสิการ คือการคิดอย่างมีเป้าหมาย คิดให้เกิดผลไม่ใช่คิดไปเรื่อยเปื่อย
๑๔. ในการดำ เนินชีวิต สติเป็นองค์ธรรมที่จำ เป็นต้องใช้ในการทำ งานทุกอย่างโยนิโสมนสิการ เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงสติที่ยังไม่เกิดให้ได้เกิด ช่วยให้สติที่เกิดแล้วเกิดต่อเนื่องต่อไป
๑๕. กลไกการทำ งานของโยนิโสมนสิการในกระบวนการคิด เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งใดความคิดก็จะพุ่งเข้าสู่ความชอบหรือไม่ชอบทันที นั่นคือสิ่งปรุงแต่ง เนื่องจากบุคคลมีประสบการณ์มาก่อน เรียกสิ่งปรุงแต่งนั้นว่าอวิชชา ในตอนนี้เองที่โยนิโสมนสิการจะเข้าไปสกัดกั้นความคิดนั้นแล้วเป็นตัวนำ เอากระบวนการคิดบริสุทธิ์ที่จะพิจารณาตามสภาวะตามเหตุปัจจัย เป็นลำ ดับไม่สับสน มีเหตุผลและเกิดผลได้ (ตามองค์ประกอบทั้งสี่ข้อในข้อ ๑๓) ทำ ให้คนเป็นนายไม่ใช่ทาสของความคิด เอาความคิดมาใช้แก้ปัญหาได้
๑๖. คนปกติสามารถใช้โยนิโสมนสิการง่าย ๆ ได้โดยการพยายามควบคุมกระแสความคิดให้อยู่ในแนวทางที่ดีงามตามทางที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากกัลยาณมิตรมาก่อนแล้ว และเมื่อพิจารณาเห็นความจริง และรู้ว่าคำ แนะนำ สั่งสอนนั้นถูกต้องดีงาม มีประโยชน์ ก็ยิ่งมั่นใจและเกิดศรัทธาขึ้นเอง เกิดเป็นการประสานกันระหว่างปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน กลายเป็นความหมายของตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ดังนั้นในการสอนเพื่อสร้างศรัทธาจะต้องพยายามให้นักเรียนได้รับรู้ผลและเกิดความตระหนักในผลของการกระทำ ความดี ต้องเร้าให้เกิดการเสริมแรงภายใน
๑๗. กล่าวโดยสรุปกลไกการทำ งานของโยนิโสมนสิการ และความสัมพันธ์ระหว่างปรโตโฆสะกับโยนิโสมนสิการ มีดังนี้
๑๗.๑ โยนิโสมนสิการจะทำ งาน ๒ ขั้นตอนคือ รับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์จากภายนอก การรับรู้ด้วยโยนิโสมนสิการจะเป็นการรับรู้อย่างถูกต้อง มีการคิดค้นพิจารณษอารมณ์หรือเรื่องราวที่เก็บเข้ามาเป็นการพิจารณาข้อมูลด้วยสติซึ่งจะเอาไปใช้ประโยชน์ในการดำ เนินชีวิตและทำ กิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป
๑๗.๒ กัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะที่ดี) และโยนิโสมนสิการเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างบุคคลกับโลกหรือสภาพแวดล้อมภายนอก โดยกัลยาณมิตรเชื่อมให้บุคคลติดต่อกับโลกทางสังคมอย่างถูกต้อง และโยนิโสมนสิการเชื่อมต่อบุคคลกับโลกทางจิตใจของตนเองอย่างถูกต้อง
๑๘. วิธีคิดตามหลักโยนิโสมนสิการมี ๑๐ วิธีคือ
๑๘.๑ วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้สภาวะที่เป็นจริง
๑๘.๒ วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ เป็นวิธีคิดเพื่อกำหนดแยกปรากฏการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและสิ่งที่เป็นนามธรรม
๑๘.๓ วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้เท่ากัน คือรู้ว่าสิ่งต่าง ๆนั้นเกิดขึ้นเอง และจะดับไปเอง เรียกว่า รู้อนิจจัง และรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นมาเองไม่มีใครบังคับหรือกำ หนดขึ้น เรียกว่า รู้อนัตตา
๑๘.๔ วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ เป็นวิธีคิดแบบแก้ปัญหา โดยเริ่มจากตัวปัญหาหรือทุกข์ ทำ ความเข้าใจให้ชัดเจน สืบค้นสาเหตุ เตรียมแก้ไข วางแผนกำ จัดสาเหตุของปัญหา มีวิธีการปฏิบัติ ๕ ขั้นตอน คือ
๑) ทุกข์ - การกำหนดให้รู้สภาพปัญหา
๒) สมุทัย - การกำหนดเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำ จัด
๓) นิโรธ - การดับทุกข์อย่างมีจุดหมาย ต้องมีการกำหนดว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร
๔) มรรค - การกำหนดวิธีการในรายละเอียดและปฏิบัติเพื่อกำ จัด
ปัญหา
๑๘.๕ วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ เป็นวิธีคิดให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างหลักการ และความมุ่งหมาย สามารถตอบคำถามได้ว่าที่ทำ หรือจะอย่างนั้นอย่างนี้เพื่ออะไร ทำ ให้การกระทำ มีขอบเขต ไม่เลยเถิด
๑๘.๖ วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการคิดบนพื้นฐานความตระหนักที่ว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งส่วนดีและส่วนด้อย ดังนั้นเมื่อต้องคิดตัดสินใจเลือกเอาของสิ่งใดเพียงอย่างเดียวจะต้องยอมรับส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกไว้ และไม่มองข้ามโทษหรือข้อบกพร่อง จุดอ่อน จุดเสียของสิ่งที่เลือกไว้ การคิดและมองตามความจริงนี้ ทำ ให้ไม่ประมาท อาจนำ เอาส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ และสามารถหลีกเลี่ยงหรือโอกาสแก้ไขส่วนเสียบกพร่องที่ติดมากับสิ่งที่เลือกไว้
๑๘.๗ วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดที่สามารถแยกแยะได้ว่าคุณค่าแท้คืออะไร คุณค่าเทียมคืออะไรคุณค่าแท้ คือคุณค่าของสิ่งมีประโยชน์แก่ร่างกายโดยตรง อาศัยปัญญาตีราคาเป็นคุณค่าสนองปัญญาคุณค่าเทียม คือคุณค่าพอกเสริมสิ่งจำ เป็นโดยตรง อาศัยตัณหาตีราคา เป็นคุณค่าสนองตัณหาวิธีคิดนี้ใช้เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้าใจและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต เพื่อพ้นจากการเป็นทาสของวัตถุ เป็นการเกี่ยวข้องด้วยปัญญา มีขอบเขตเหมาะสม
๑๘.๘ วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม เป็นการคิดถึงแต่สิ่งที่ดีมีกุศล เมื่อได้รับประสบการณ์ใด แทนที่จะคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีงาม เป็นวิธีคิดที่สกัดกั้น ขัดเกลาตัณหา
๑๘.๙ วิธีคิดแบบเป็นอยู่กับปัจจุบัน เป็นวิธีคิดให้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะปัจจุบันกำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ประจำ วันเชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่กำ ลังรับรู้ กิจการตามหน้าที่หรือการปฏิบัติ โดยมีจุดหมายไม่เพ้อฝันกับอารมณ์ขอบหรือชัง
๑๘.๑๐ วิธีคิดแบบวิภัชวาท เป็นการคิดแบบมองให้เห็นความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ แต่ละด้านจนครบทุกด้าน ไม่พิจารณาสิ่งใด ๆ เพียงด้านหรือแง่มุมเดียว