การสอนเพื่อพัฒนาการคิด

การสอนเพื่อพัฒนาการคิด
เนื่องจากการพัฒนาการคิดเป็นสิ่งสำ คัญ จึงได้มีการค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความสามารถดังกล่าว ในปี ค.ศ. ๑๙๘๔ ได้มีการประชุมของนักการศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ที่ The Wingspread Conference Center in Racine, Wisconsin State เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดของเด็ก พบว่า แนวทางที่นักการศึกษาใช้ในการดำ เนินการวิจัยและทดลองเพื่อพัฒนาการคิดนั้น สามารถสรุปได้ ๓ แนว คือ(เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์, ๒๕๓๐)
๑. การสอนเพื่อให้คิด (Teaching for Thinking) เป็นการสอนเนื้อหาวิชาการ โดยมีการเสริมหรือปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการคิดของเด็ก
๒. การสอนการคิด (Teaching of Thinking) เป็นการสอนที่เน้นเกี่ยวกับกระบวนการทางสมอง ที่นำ มาใช้ในการคิดโดยเฉพาะ เป็นการฝึกทักษะการคิด ลักษณะของงานที่นำ มาใช้สอนจะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาการที่เรียนในโรงเรียน แนวทางการสอนจะแตกต่างกันออกไปตามทฤษฎี และความเชื่อพื้นฐานของแต่ละคนที่นำ มาพัฒนาเป็นโปรแกรมการสอน
๓. การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about Thinking) เป็นการสอนที่เน้นการใช้ทักษะการคิดเป็นเนื้อหาสาระของการสอน โดยการช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจกระบวนการคิดของตนเองเพื่อให้เกิดทักษะการคิดที่เรียกว่า “metacognition” คือ รู้ว่าตนเองรู้อะไร ต้องการรู้อะไร และยังไม่รู้อะไร ตลอดจนสามารถควบคุมและตรวจสอบการคิดของตนเองได้สำ หรับโปรแกรมการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดที่จัดสอนในโรงเรียน เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันสามารถจำ แนกออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ คือโปรแกรมที่มีลักษณะเฉพาะ (Specific Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมพิเศษนอกเหนือจากการเรียนปกติ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณโดยเฉพาะ(Institutional Programs to Foster Critical Thinking) กับโปรแกรมที่มีลักษณะทั่วไป(General Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้เนื้อหาวิชาในหลักสูตรปกติเป็นสื่อในการพัฒนาทักษะการคิด เป็นการสอนทักษะการคิดในฐานะที่เป็นตัวเสริมวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่มีอยู่ โดยเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชาเนื่องจากความพร้อมและสถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในประเทศไทยมีลักษณะที่หลากหลาย ในที่นี้ จึงจะขอนำ เสนอแนวทางในการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดหลาย ๆ แนว เพื่อเป็นตัวเลือกให้แก่ครูและดรงเรียนในการนำ ไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
แนวที่ ๑ การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยตรงโดยใช้โปรแกรม สื่อสำ เร็จรูป หรือบทเรียน/กิจกรรมสำ เร็จรูปสำ หรับครูและโรงเรียนที่สนใจจะพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียนเป็นพิเศษและสามารถที่จะจัดหาเวลาและบุคลากรรวมทั้งงบประมาณที่จะดำ เนินการได้สามารถพัฒนาการคิดของเด็กได้โดยใช้โปรแกรมและสื่อสำ เร็จรูป รวมทั้งบทเรียน/กิจกรรมสำ เร็จรูปที่มีผู้ได้พัฒนาและจัดทำ ไว้ให้แล้ว อาทิเช่น
๑. The Productive Thinking Program (Covington, Crutchfield Davies & Olton,๑๙๗๔) ประกอบด้วยบทเรียน ๑๕ บท มีเป้าหมายสอนทักษะการแก้ปัญหาให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
๒. The Ideal Problem Solver (Bransford & Stein, ๑๙๘๔) เป็นโปรแกรมเน้นการแก้ปัญหาประกอบด้วยขั้นตอนการแก้ปัญหา ๕ ขั้นตอนคือ
๑) การระบุปัญหา (Identifying Problems)
๒) การนิยาม (Defining Problems)
๓) การเสนอทางเลือก (Explaning Alternatives)’
๔) การวางแผนดำ เนินการ (Acting on a plan)
๕) การศึกษาผล (Looking at the Effects)
๓. Feuerstein’s Instrumental Enrichment (FIE) (Feuersteinetal; ๑๙๘๐) เรียกโปรแกรมนี้ว่า Mediated Learning Experiences (MLES) เป็นโปรแกรมที่มีกิจกรรมสอนให้ผู้เรียน คือ ครู พ่อแม่ และคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ผู้เรียนฝึกคิดความหมายและรวบรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ของตนเอง กิจกรรมพื้นฐานของ MLESคือการฝึกให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยทำ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำ ไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
๔. The CoRT Thinking Materials – CoRT (Cognitive Research Trust) ซึ่งเป็นโปรแกรม ๒ ปี เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (Do Bono, ๑๙๗๓) บทเรียนของโปรแกรมนี้ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นบทเรียนที่ใช้ได้ตั้งแต่นักเรียนระดับประถมศึกษาขึ้นไป เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วย หน่วยใหญ่ ๆ รวม ๖หน่วย
แนวที่ ๒ การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบ หรือกระบวนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดการสอนเพื่อพัฒนาการคิดในลักษณะนี้เป็นการสอนที่มุ่งสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่เพื่อให้การสอนนั้นเป็นการช่วยพัฒนาความสามารถทางการคิดของผู้เรียนไปในตัว ครูสามารถนำ รูปแบบการสอนต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิด ซึ่งได้มีผู้ค้นคิด พัฒนา และทดสอบ พิสูจน์แล้วมาใช้เป็นกระบวนการสอน ซึ่งจะช่วยให้ครูสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระ และการคิดไปพร้อม ๆ กัน รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิดมีหลากหลาย ทั้งจากต่างประเทศและจากนักการศึกษาไทย อาทิ เช่น
รูปแบบ/กระบวนการสอนที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิดจากต่างประเทศ
๑. รูปแบบการสอนแบบอุปนัยของจอยส์และเวลล์ (Inductive Thinking)
๒. รูปแบบการสอนแบบซักค้านของจอยส์และเวลล์ (Jurisprudential Inquiry Model)
๓. รูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวนของจอยส์และเวลล์ (Inquiry Model)
๔. รูปแบบการสอนแบบให้มโนทัศน์ล่วงหน้าของจอยส์ (Advance Organizer)
๕. รูปแบบการสอนมโนทัศน์ของจอยส์และเวล์ (Concept Attainment)
๖. รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลียมส์
๗. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของ Center for Critical Thinking, Sonoma State University
๘. รูปแบบการสอนของกานเย (Gagne)
๙. รูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอนนิส (Ennis)
๑๐. รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตของทอแรนซ์ (Torrance)
๑๑. กระบวนการคิดวิจารณญาณของเดรสเซล และเมย์ฮิว (Dressel and Mayhew)
๑๒. การพัฒนากระบวนการคิดของเดอโบโน (Edward De Bono) ฯลฯ
รูปแบบ/กระบวนการสอนของไทยที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิด
๑๓. รูปแบบการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจ โดย สาโรช บัวศรี
๑๔. ระบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนตามแนวพุทธศาสตร์ โดยวีระยุทธ วิเชียรโชติ
๑๕. รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ โดย สุมน อมรวิวัฒน์
๑๖. รูปแบบการสอนความคิด ค่านิยม จริยธรรม และทักษะ โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
๑๗. ทักษะกระบวนการ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
๑๘. กระบวนการวิทยาศาสตร์ โดย สสวท.
๑๙. กระบวนการคิดเป็น โดย โกวิท วรพิพัฒน์
๒๐. กระบวนการคิดเป็นเพื่อการดำ รงชีวิตในสังคมไทยโดย หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
๒๑. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์
๒๒. กระบวนการเกิดความสำ นึกและการเปลี่ยนแปลงความสำ นึก โดย เมธี ปิลันธนานนท์
๒๓. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดย ไพจิตร สะดวกการ
๒๔. สอนให้คิด คิดให้สอน โดย ชาตรี สำ ราญฯลฯ
แนวที่ ๓ การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดลักษณะการคิด และกระบวนการคิด ในกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาต่าง ๆแนวทางที่ ๓ นี้ น่าจะเป็นแนวทางที่ครูสามารถทำ ได้มากที่สุดและสะดวกที่สุดเนื่องจากครูสอนเนื้อหาสาระอยู่แล้ว และมีกิจกรรมการสอนอยู่แล้ว เมื่อครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดตามกรอบความคิดที่ได้เสนอมาข้างต้น ครูจะสามารถนำ ความเข้าใจนั้นมาใช้ในการปรับกิจกรรมการสอนที่มีอยู่แล้วให้มีลักษณะที่ให้โอกาสผู้เรียนได้พัฒนา ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิดที่หลากหลาย